วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551


พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551


ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551
เป็นปีที่ 63 ในรัชกาลปัจจุบัน


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551"
--
มาตรา 2พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
-
มาตรา 3ให้ยกเลิกความใน (3) (4) และ (5) ของมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
-
"(3) กรรมการโดยตําแหน่งจํานวนแปดคน ได้แก่ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เลขาธิการ ก.พ.เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการ ก.ค.ศ.และเลขาธิการคุรุสภา
-
(4) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวนเก้าคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงทางด้านการศึกษา ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมาย ด้านการบริหารการจัดการภาครัฐ ด้านการบริหารองค์กร ด้านการศึกษาพิเศษ ด้านการบริหารธุรกิจ หรือด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านการผลิตและพัฒนาครู และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือด้านการบริหารจัดการความรู้หรือด้านการวิจัยและประเมินผล ด้านละหนึ่งคน
(5) กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งมาจากการเลือกตั้งจํานวนเก้าคน ประกอบด้วย ผู้แทนผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจํานวนหนึ่งคน ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารสถานศึกษาที่ เรียกชื่ออย่างอื่นในหน่วยงานการศึกษาตามที่ ก.ค.ศ.กําหนดจํานวนหนึ่งคน ผู้แทนข้าราชการครูจํานวนหกคน โดยให้เลือกจากข้าราชการครูในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจํานวนสี่คน ในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจํานวนหนึ่งคน และในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมจํานวนหนึ่งคน และผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่นจํานวนหนึ่งคน"
มาตรา 4ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
"(6) มิได้เป็นผู้ดํารงตําแหน่งหรือเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่ตนได้รับเลือก"
มาตรา 5ให้ยกเลิกความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา 18 ภายใต้บังคับมาตรา 17 ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาจะเป็นกรรมการใน ก.ค.ศ.อนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หรืออนุกรรมการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ในขณะเดียวกันมิได้ เว้นแต่การเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการโดยตําแหน่ง"

มาตรา 6ให้ยกเลิกความใน (14) ของมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(14) ในกรณีที่ปรากฏว่าส่วนราชการ หน่วยงานการศึกษา อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาคณะอนุกรรมการหรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติการโดยไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม หรือปฏิบัติการโดยขัดหรือแย้งกับกฎหมาย กฎ ก.ค.ศ.ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่ ก.ค.ศ.กําหนด ให้ ก.ค.ศ.มีอํานาจยับยั้งการปฏิบัติการดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราว เมื่อ ก.ค.ศ. มีมติเป็นประการใดแล้ว ให้ส่วนราชการหน่วยงานการศึกษา อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา คณะอนุกรรมการหรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ปฏิบัติไปตามนั้น"
มาตรา 7ให้ยกเลิกความในมาตรา 21 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 21 ให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาประจําเขตพื้นที่การศึกษา เรียกโดยย่อว่า "อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา" โดยออกนามเขตพื้นที่การศึกษานั้นๆ ประกอบด้วย
  1. ประธานอนุกรรมการซึ่งอนุกรรมการเลือกกันเองจํานวนหนึ่งคนโดยเลือกจากอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  2. อนุกรรมการโดยตําแหน่งจํานวนสองคน ได้ แก่ ผู้ แทน ก.ค.ศ.และผู้แทนคุรุสภา ซึ่งคัดเลือกจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถหรือประสบการณ์ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการศึกษาด้านกฎหมายหรือด้านการเงินการคลัง
  3. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนสี่คน ซึ่งคัดเลือกจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการศึกษา ด้านกฎหมายหรือด้านการเงินการคลัง และด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลของเขตพื้นที่การศึกษา ด้านละหนึ่งคน
  4. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาจํานวนห้าคน ได้แก่ ผู้แทนข้าราชการครู ผู้สอนสายประถมศึกษาและมัธยมศึกษาอย่างละหนึ่งคนผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาสายประถมศึกษาและมัธยมศึกษาอย่างละหนึ่งคน และผู้แทนบุ คลากรทางการศึกษาอื่นจํานวนหนึ่งคนให้ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นอนุกรรมการและเลขานุการอนุกรรมการตาม (2) ซึ่งเป็นผู้แทน ก.ค.ศ. และอนุกรรมการตาม (3) ต้องไม่เป็นข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ส่วนอนุกรรมการตาม (2) ซึ่งเป็นผู้แทนคุรุสภาต้องเป็นสมาชิกคุรุสภาและเป็นผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
ทั้งนี้ อนุกรรมการตาม (2) และ (3) ต้องไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ ที่ปรึกษา หรือผู้มีตําแหน่งบริหารในพรรคการเมือง คุณสมบัติอื่น หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มา วาระการดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่งของอนุกรรมการตาม (2) (3) และ (4) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กําหนด มาตรา 22 การประชุมของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ให้นําความในมาตรา 16 มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
มาตรา 8

ให้ยกเลิกความใน ข. ของมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข. ตําแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา ได้แก่ ตําแหน่งดังต่อไปนี้
  1. รองผู้อํานวยการสถานศึกษา
  2. ผู้อํานวยการสถานสถานศึกษา
  3. รองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การ ศึกษา
  4. ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  5. ตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ.กําหนด ตําแหน่งผู้บริหารใน (1) และ (2) ให้มีในสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาตามประกาศกระทรวง ตําแหน่งผู้บริหารใน (3) และ (4) ให้มีในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาตําแหน่งผู้บริหารในหน่วยงานการศึกษาที่สอนระดับปริญญา การกําหนดระดับตําแหน่งการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง ให้นํากฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ ก.ค.ศ.จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น"
มาตรา 9ให้ยกเลิกความในมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 40 ให้ตําแหน่งคณาจารย์ดังต่อไปนี้ เป็นตําแหน่งทางวิชาการ
  • (ก) อาจารย์
  • (ข) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
  • (ค) รองศาสตราจารย์
  • (ง) ศาสตราจารย์
การกําหนดระดับตําแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งตามวรรคหนึ่งให้นํากฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามาใช้บังคับโดยอนุโลม"
มาตรา 10ให้ยกเลิกความใน (2) และ (3) ของมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"(2) การบรรจุ และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งรองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตําแหน่งรองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชํานาญการพิเศษ ตําแหน่งรองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ ตําแหน่งผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา และตําแหน่งผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งโดยอนุมัติ ก.ค.ศ.

(3) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งรองผู้อํานวยการสถานศึกษา ตําแหน่งผู้อํานวยการสถานศึกษา ตําแหน่งผู้บริหารที่ เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา 38 ข. (5) ตําแหน่งศึกษานิเทศก์ ตําแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตําแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะชํานาญการ ตําแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะชํานาญการพิเศษ และตําแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ให้ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งโดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา"

มาตรา 11ให้ยกเลิกความใน (6) ของมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"(6) การบรรจุ และแต่งตั้งตําแหน่งอาจารย์ ตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตําแหน่งรองศาสตราจารย์ และตําแหน่งศาสตราจารย์ ตามมาตรา 38 ก. (3) ถึง (6) ให้นํากฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามาใช้บังคับโดยอนุโลมโดยให้ สภาสถาบันอุดมศึกษาทําหน้าที่แทน ก.ค.ศ.หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ.ตั้ง แล้วแต่ กรณี เว้นแต่ ก.ค.ศ.จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น"

มาตรา 12ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 56 ผู้ใดได้รับการบรรจุ และแต่งตั้งให้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตามมาตรา 45 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 50 ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตําแหน่งนั้น แต่ถ้าผู้ใดได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในตําแหน่งครูผู้ช่วย ให้ผู้นั้นเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มเป็นเวลาสองปีก่อนแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งครู ทั้งนี้ การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กําหนด"
มาตรา 13ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งและวรรคสองของมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา 59 การย้ายข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาผู้ ใดไปดํารงตําแหน่งในหน่วยงานการศึกษาอื่นภายในส่วนราชการหรือภายในเขตพื้นที่การศึกษาหรือต่างเขตพื้นที่การศึกษาต้องได้รับอนุมัติจาก อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ.ตั้ง ของผู้ประสงค์ย้ายและผู้รับย้าย แล้วแต่กรณี และให้ สถานศึกษาโดยคณะกรรมการสถานศึกษาเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ.ตั้ง ด้วย และเมื่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาหรือ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ.ตั้ง พิจารณาอนุมัติแล้ว ให้ผู้มีอํานาจ ตามมาตรา 53 สั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้นั้นต่อไป

การย้ายผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาและรองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้สั่งย้ายโดยอนุมัติ ก.ค.ศ."
มาตรา 14ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของมาตรา 104 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(1) การรายงานการดําเนินการทางวินัยไม่ร้ายแรงของผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาลงมา เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดําเนินการทางวินัยแล้ว ให้รายงานไปยังหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้อํานวยการสํ นั กงานเขตพื้นที่การศึกษาแล้วแต่กรณี และเมื่อหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับรายงานแล้วเห็นว่าการยุติเรื่อง การงดโทษ หรือการสั่งลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็ให้มีอํานาจสั่งงดโทษ ลดสถานโทษ เพิ่มสถานโทษ เปลี่ยนแปลงและแก้ไขข้อความในคําสั่งเดิม หรือดําเนินการอย่างใด เพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาให้ได้ความจริงและความยุติธรรมได้ ตามควรแก่กรณี และหากเห็นว่ากรณี เป็นการกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ก็ให้มีอํานาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้ หรือหากเห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของตน ก็ให้แจ้งหรือรายงานไปยั งผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจหน้าที่ เพื่อดําเนินการตามควรแก่ กรณี ต่อไป เมื่อหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้พิจารณาตามอํานาจหน้าที่แล้วให้เสนอหรือรายงาน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา เมื่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาได้ พิจารณาแล้ว ให้รายงานไปยังหัวหน้าส่วนราชการพิจารณา แต่ในกรณีที่ หัวหน้าส่วนราชการซึ่งได้ รับรายงานมีความเห็นขัดแย้งกับมติ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ให้เสนอ ก.ค.ศ.พิจารณาต่อไป

(2) การรายงานการดําเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงของผู้บังคับบัญชาตั้งแต่หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาลงมา เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดําเนินการทางวินัยแล้ว ให้รายงานไปยังหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาแล้วแต่กรณี และเมื่อหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตามอํานาจหน้าที่แล้ว ให้รายงาน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา และ ก.ค.ศ. พิจารณาตามลําดับ"

มาตรา 15ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองและวรรคสามของมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547

"ในกรณีที่ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดเห็นว่า อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาหรือ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ.ตั้ง มีมติไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ต่อ ก.ค.ศ.มติของ ก.ค.ศ.ตามวรรคสอง ให้เป็นที่สุด"

มาตรา 16ให้กรรมการ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาซึ่งปฏิบัติหน้าที่ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับยังคงปฏิบัติ หน้าที่ต่อไปจนกว่าจะครบวาระ และให้ดําเนินการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งกรรมการเพิ่มเติมให้ครบจํานวนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ นี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้มีวาระอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการดังกล่าว โดยมิให้นับเป็นวาระการดํารงตําแหน่งตามพระราชบัญญัตินี้ให้ ก.ค.ศ.กําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาและดําเนินการเพื่อให้ได้ มาซึ่งกรรมการใน ก.ค.ศ.และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาจนครบจํานวนตามองค์ประกอบ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 17ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น